![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjGRHk3QoQxP4JaClR0tBdFINt6YUZS21tk3dIbGVe2NFg_rKqsXHhPwzKJVPgC50US1Wrm06L6yHHwrfMSRvk7jCzHaWY2IXqesh7ovu1WPRBp51VXOh6fh5SZC5wH-0K1f9wPuYngCg/s320/%25E0%25B8%259C%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25AD%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%259F%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%2582%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A7.jpg)
ชื่อ : ฟักข้าว (อาหารต้านมะเร็ง)
ชื่อสามัญ : Spring Bitter Cucumber
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Momordica cochinchinensis Spreng.
ชื่อท้องถิ่น : “แก็ก”, “มะข้าว”, “ผักข้าว”, “ขี้กาเครือ” “ฟักข้าว”
ลักษณะ : ฟักข้าวเป็นไม้ประเภทล้มลุก โดยเป็นเถาเลื้อย มีมือเกาะ แบบเดียวกับตำลึง ใบเป็นใบเดี่ยว รูปหัวใจ หรือรูปไข่ รูปร่างคล้ายใบโพธิ์ ความกว้างยาวเท่ากันประมาณ 6-15 เซนติเมตร ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก 3-5 แฉก
- ดอกฟักข้าว มีลักษณะดอกจะออกบริเวณข้อต่อระหว่างใบ หรือ ซอกใบ โดยออกข้อละดอก ลักษณะ คล้ายดอกตำลึงลักษณะกลีบดอก ขาวอมเหลือง หรือขาวแกมเหลือง ก้านเกสรและกลีบละอองมีสีม่วงแกมดำ หรือน้ำตาลแกมม่วง ใบเลี้ยงประดับมีขน โดยดอกจะเป็นดอกแบบ เพศไม่สมบูรณ์ แยกแป็นดอกดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย และจะอยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้จะมีสีเหลือง มีกลีบดอก 5 กลีบ ส่วนดอกเพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่า
- ผลของฟักข้าว ผลของฟักข้าวจะมีรูปร่างกลมออกรี มีหนามเล็ก ๆ อยู่รอบผล ผลอ่อนมีสีเขียวอมเหลือง เจริญได้เองโดยไม่ต้องถูกผสม เมื่อผลสุกจะมีสีแดง หรือแดงอมส้ม ภายในมีเมล็ดจำนวนมากเรียงตัวกันคล้ายเมล็ดแตง
การขยายพันธ์ : สามารถขยายพันธุ์ได้ 4 วิธี ดังนี้
- โดยใช้เมล็ด ถ้ากะเทาะเปลือกปลูกจะงอกง่ายและเร็วกว่า ถ้าเพาะด้วยเมล็ดจะมีรากเยอะแข็งแรงหากินเก่ง
- ปักชำเถาว์แก่ ผลจะทำให้ออกดอกออกผลเร็ว แต่หากินไม่เก่งเพราะรากน้อย
- แยกรากปลูก จะคล้ายๆกับการทับเถาว์ ผลออกดอกเร็ว ติดผลเร็วไม่ต้องรอนาน
- ทับเถาว์ปลูก โดยเลือกเถาว์ที่ยังติดลำต้นอยู่ไม่ต้องตัดออก หรือที่เลื้อยอยู่บนดิน แล้วเอาดินมากลบ ถ้าสังเกตว่ามียอดแตกออกมาจากข้อเถาว์ที่ทับก็ตัดเอาไปปลูกได้เลย วิธีนี้จะต้นจะแข็งแรงรากเยอะ ออกดอกออกผลเร็วคะ
ผลผลิตและปริมาณผลผลิต : ฟักข้าวจะเริ่มมีดอกหลังจากปลูกไปแล้วประมาณ 2-3เดือน ดอกจะเริ่มออกในประมาณเดือนพฤษภาคมและติดดอกไปจนถึงราวเดือนสิงหาคม จากติดดอกจนออกผลสุกใช้เวลาโดยประมาณ 30 วัน โดยจะสามรถเก็บเกี่ยวผลได้เรื่อยๆ ตั้งแต่ กรกฎาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ และใน 1 ฤดูกาลจะเก็บเกี่ยวสามารถได้ผลมากถึง 30-60 ผล ต่อ 1 ต้น
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjPggEJMagr04WlMql8F5qXDHUTNhSgNSLbzYsPrKn5_KNOs0c2MtAcXvknkSZTyjwHpQ4htWpPxT8RlnMqAd7Bb8wyPVk9aoBpAoVA0fysAnVyV7GqHf21LLV0SGW6GoArR8T_bt25Ww/s320/%25E0%25B8%259F%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%2582%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A72.jpg)
· ยอดของฟักข้าว ราคา กำละ 3-5 บาท
· ผลอ่อน ราคาลูกละ 10 – 15 บาท
· ผลสุก ราคาลูกละ 25-40 บาท แล้วแต่ขนาด
· เยื่อสีแดงที่ติดเมล็ด ตอนนี้ในตลาดรับซื้อกันที่ ราคา ประมาณ 1000 -1500 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม
คุณค่าทางโภชนาการ : ปริมารสารอาหารพบว่าฟักข้าวมีสารอาหารทีสำคัญ โดยเฉพาะสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยต่อต้านความเสื่อมและโรคมะเร็งทั้งหลาย
ผลการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ
ที่มา : หมอชาวบ้าน
จากการวิเคราะห์สารอาหาร พบว่า แม้ในผลอ่อนของฟักข้าวก็ยังมีสารอาหารในปริมาณที่สูงมากโดยเฉพาะ สาร เบต้าแคโรทีน และแคลเชียม
ผลการวิเคราะห์สารต้านอนุมูลอิสระตัวสำคัญของผลสุกกับเยื่อเมล็ดของฟักข้าว
ที่มา : หมอชาวบ้าน
สงสัยไหมคะว่า "สารไลโคพีน" คืออะไร สารไลโคพีนเป็นสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ ในวงการแพทย์จะใช้ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร
จากการวิเคราะห์ พบว่า เนื้อผลฟักข้าว โดยเฉพาะเยื่อเมล็ดผลสุก(เยื่อสีแดง)ของฟักข้าว มีปริมาณบีตาแคโรทีนสูงมาก โดยเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับแครอทซึ่งเป็นพืชที่มีสารเบต้าแคโรทีนสูงที่สุดปรากฏว่า มีมากกว่าแครอทถึง ๑๐ เท่า และเมื่อเปรียบเทียบกับพระเอกที่ได้ชื่อเป็นแหล่งที่ให้ไลโคพีนมากที่สุดซึ่งก็ คือ มะเขือเทส พบว่าฟักข้าวมีสารไลโคพีนมากกว่ามะเขือเทศถึง ๑๒ เท่า นอกจากนั้นฟักข้าวยังมีกรดไขมันขนาดยาวประมาณร้อยละ ๑๐ ของมวลการกิน ที่สำคัญสารบีตาแคโรทีนจากฟักข้าวจะสามารถดูดซึมในร่างกายได้ดีกว่าเพราะละลายได้ในกรดไขมัน
จากปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระที่สูง ซึ่งเป็นที่ทารบดีว่าสารเหล่านั้นเป็นสารสำคัญที่ช่วยในเรื่องสายตาและการมองเห็น ดังนั้น ถ้าหากท่านจะกินฟักข้าวเพื่อบำรุงสายตา และสุขภาพร่างกายให้ได้ประโยชน์สูงสุด แนะนำว่าต้องกินส่วนที่มาจากเยื่อเมล็ด(เยื่อสีแดง) นะคะเพราะเป็นส่วนที่มีสารอาหารเยอะกว่าส่วนอื่นๆ
ตารางเปรียบเทียบปริมาณสารไลโคพีนกับพืชผลไม้อื่นๆ
ที่มา : หมอชาวบ้าน
จากผลการเปรียบเทียบ และจากคุณสมบัติของไลโคพีนซึ่งมีในเยื่อเมล็ดฟักข้าว ซึ่งในตารางจะแสดงให้เห็นว่า ฟักข้าวมีสารไลโคพีนมากกว่ามะเขือเทศ และผลไม้อื่นๆ ทุกชนิด จึงกล่าวได้ว่า "ฟักข้าวเป็นอาหารต้านมะเร็งและความเสื่อมของเซลล์ที่ดีที่สุดชนิดหนึ่งจากฤทธิ์ของไลโคพีน สมัยก่อนยายที่บ้านแกชอบเอาเยื่อและเนื้อของผลสุกมาบดพอกหน้าเช่นกันเพราะแกเชื่อว่าจะทำให้ผิวพรรณเต็งตึง ถามว่าจริงหรือไม่ จากเหตุและผลที่กล่าวมาและเท่าที่ดูยายแกก็หน้าเด็กกว่าคนในวัยเดียวกันเหมือนกันนะคะ แบบนี้ต้องลองคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น