ฟักข้าวนาโนลบริ้วรอย งานวิจัยเภสัชมช.


ครีมอนุภาคนาโนจากน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว 

ตำรับลดริ้วรอยได้ผลดีและมีความคงตัวสูง เป็นงานวิจัยและพัฒนาของนักวิจัย คณะเภสัชมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  แสดงถึงศักยภาพนักวิจัยไทย จนได้รับรางวัลนานาชาติจากสมาพันธ์นักเคมีเครื่องสำอางนานาชาติ  “ฟักข้าวยังไปได้อีกไกลในระดับอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและความงาม

แนะส่งเสริมการปลูกฟักข้าวสู่ระดับอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง

รศ.ดร.ภก.สุรพล นธการกิจกุล หัวหน้าทีมวิจัย เผยผลงานวิจัยเรื่อง  การพัฒนาเครื่องสำอางลดเลือนริ้วรอยจากน้ำมันของเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวใน อนุภาคไขมันระดับนาโน (Development of Anti-wrinkle Cosmetic from Aril Oil of Momordica cochinchinesis (Lour.) Spreng in Nanostructured Lipid Carriers) ได้รับรางวัล IFSCC Host Society Award 2011 ซึ่งนับเป็นผลงานของคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้ จากงานประชุมสมาพันธ์นักเคมีเครื่องสำอางนานาชาติ 2011 (IFSCC 2011) เมื่อช่วงเดือน ธ.ค.54 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพมหานคร 

ซึ่งนับเป็นการประชุมระดับโลกครั้งแรกในประเทศไทยโดยสมาคมนักเคมีเครื่อง สำอางแห่งประเทศไทย รศ.ดร.ภญ.พรรณวิภา กฤษฏาพงษ์ ได้รับเกียรติเป็นประธานจัดงาน และเป็นครั้งที่ 21 ของประชุมสมาพันธ์นักเคมีเครื่องสำอางนานาชาติ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากสมาพันธ์นักเคมีเครื่องสำอาง นักวิทยาศาสตร์ กลุ่มวิชาชีพในอุตสาหกรรมเคมีเครื่องสำอางและความงามจากประเทศสมาชิกของสมา พันธ์นักเคมีเครื่องสำอางนานาชาติ (IFSCC) รวม 47 ประเทศ ซึ่งมีสมาชิกจำนวนกว่า 15,000 คน   ผู้เข้าร่วมประชุมได้แสดงผลงานวิจัยและศักยภาพของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางโดย มุ่งเน้นมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเครื่องสำอางจากสารธรรมชาติจึงเป็นทางเลือกหนึ่ง

ผลงานวิจัย 
เรื่องการ พัฒนาเครื่องสำอางลดเลือนริ้วรอยจากน้ำมันของเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว ในอนุภาคไขมันระดับนาโน นั้นเป็นการต่อยอดงานวิจัยพัฒนาอย่างต่อเนื่องกว่า 5 ปี ของทีมนักวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  คือหัวหน้าโครงการ รศ.ดร.ภก. สุรพล นธการกิจกุล และคณะกล่าวถึงที่มาของการวิจัยว่าฟักข้าวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Momordica cochinchinensis (Lour.) Spreng วงศ์ Cucurbitaceae  เดิมมีถิ่นกำเนิดประเทศเอเชียเขตร้อน ในเมืองไทยมีมากในเขตภาคเหนือและภาคกลาง  ซึ่งหมอพื้นบ้านใช้ภูมิปัญญาในการใช้ฟักข้าวเป็นยารักษาโรคและเป็นอาหาร  

ทีมวิจัยได้นำเยื่อหุ้มเมล็ดมาสกัดน้ำมัน ทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และพัฒนาตำรับเครื่องสำอางชะลอความแก่โดยการทดสอบประสิทธิภาพการลดรอยเหี่ยว ย่นในอาสาสมัคร และมีการเผยแพร่ในการประชุมมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ ในปี พ.ศ. 2550 และได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น
รศ.ดร.สุรพล กล่าวย้ำว่า จากผลการวิจัยครั้งนั้น สร้างกระแสบูม มีการปลูกฟักข้าวและนำมาแปรรูปเป็นอาหารและเครื่องดื่ม เช่น น้ำผลไม้ ไอศกรีม ในระดับชุมชน นอกจากนี้ยังมีการผลิตเป็นสบู่และครีมบำรุงผิวจากฟักข้าว เป็นสินค้าระดับ OTOP และSME ตามมา
อย่างไรก็ดี การผลิตเพื่อแปรรูปในระดับอุตสาหกรรมนั้นต้องมีการวางแผนการปลูกที่ดี ควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ ขั้นตอนในการแปรรูปจะต้องตรวจสอบความคงตัวและมาตรฐานสารสำคัญในฟักข้าว นอกจากนี้ต้องมีการประเมินประสิทธิผลตามมาตรฐานสากล  จึงจะสามารถผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานส่งออกได้ ซึ่งในปัจจุบัน ตลาดเครื่องสำอางลดเลือนริ้วรอยมีการขยายตัวเพิ่มและการแข่งขันสูง ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากธรรมชาติที่มีจำหน่ายในท้องตลาด หากได้มีการตรวจสอบคุณภาพและประเมินประสิทธิภาพอย่างจริงจัง มักพบปัญหาเรื่องความคงตัวและการออกฤทธิ์ลดลงเมื่อเก็บผลิตภัณฑ์ไว้นาน
จากปัญหาดังกล่าว ทีมวิจัยจึงได้สกัดน้ำมันจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวมาศึกษาตรวจสอบองค์ประกอบ ทางเคมีโดยวิธี HPLC   พบว่าลายพิมพ์ ตรงกับของสารมาตรฐานไลโคปีนและกลุ่มเบต้าแคโรทีน ซึ่งสารประกอบกลุ่มนี้สลายตัวได้ง่ายโดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสภาวะที่มีแสงและ อุณหภูมิสูง    ดังนั้นจึงหาวิธีเพิ่มความคงตัวโดยการเตรียมน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวให้ อยู่ในรูปอนุภาคไขมันระดับนาโนและนำไปใส่ในตำรับครีม   ซึ่งอนุภาคไขมันระดับนาโนที่เก็บกักน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวสามารถ เตรียมด้วยเทคนิคการปั่นผสมที่ความดันสูง พบว่าที่ความดัน 1,000 บาร์ จำนวน 5 รอบ  ได้อนุภาคที่มีลักษณะทางกายภาพที่ดีไม่เกิดการแยกชั้น เมื่อใช้เครื่องวัดขนาดอนุภาค (Photon correlation spectroscopy) วัดพบว่า  มีขนาดอนุภาคเฉลี่ยไม่เกิน 200 นาโนเมตร การกระจายตัวอนุภาคใกล้เคียง โดยรูปร่างของอนุภาคมีลักษณะกลมมีความคงตัวดี จากนั้นนำตำรับครีมพื้นผสมน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวในอนุภาคไขมันระดับนา โน มาทดสอบความคงสภาพของตำรับที่สภาวะเร่งด้วยอุณหภูมิแบบร้อนสลับเย็น และที่สภาวะอุณหภูมิต่างๆ 4?C, 25?C และ 45?C นาน 90 วัน  พบว่า มีลักษณะทางกายภาพที่ดี ไม่เกิดการแยกชั้น และผลของอุณหภูมิและแสง ต่อความคงตัวของเบต้าแคโรทีนในน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว พบว่าในทุกสภาวะของตำรับครีมพื้นผสมน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวในอนุภาค ไขมันระดับนาโนมีเปอร์เซ็นต์ที่เหลืออยู่ของเบต้าแคโรทีนสูง ในการศึกษาประสิทธิภาพการลดริ้วรอย โดยใช้เครื่องมือ Skin Visiometer พบว่าหลังใช้ผลิตภัณฑ์วันละ 2 ครั้ง อย่างต่อเนื่องนาน 8 สัปดาห์  บริเวณที่ใช้ครีมผสมน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวในอนุภาคไขมันระดับนาโน สามารถลดริ้วรอยของผิวหนังได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนใช้ครีม

และยังพบว่าบริเวณผิวหนังที่ใช้ครีมพื้นผสมน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวในอนุภาคนาโน มีประสิทธิภาพลดริ้วรอยได้ดีกว่าบริเวณที่ใช้ครีมผสมน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาครีมผสมน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวในอนุภาคนาโนให้ มีประสิทธิภาพลดริ้วรอยและมีความคงตัวดีขึ้น  เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจแก่พืชท้องถิ่นของประเทศไทยและประชาคมอา เซียน จึงได้รับรางวัลจากสมาพันธ์นักเคมีเครื่องสำอางนานาชาติ (IFSCC)ส่งท้าย ปี 2554 ที่ผ่านมา
ที่มา : เชียงใหม่นิวส์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น